วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัดผาลาด
















































หลังจากสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ (ซึ่งอยู่สูงสุด และถือเป็นวัดอรหันต์) เสร็จแล้ว พระญากือนาทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดขึ้นอีก ๓ วัด บริเวณที่ขบวนช้างหยุด เพื่อเป็นอนุสรณ์ตามรายทางการเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนี้ เมื่อสร้างเสร็จก็มอบให้ศรัทธาประชาชนเป็นผู้บำรุงวัดเหล่านี้ วัดทั้งสามวัดคือ

๑. วัดโสดาปันนาราม หรือวัดสามยอบ ตั้งอยู่ที่ยอดดอยที่ช้างย่อเข่าลงสามครั้ง (คนเมืองเรียกการย่อเข่าลงว่า “ยอบ”) ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ในเขตของวัดผาลาด
๒. วัดสกทาคามีวนาราม หรือวัดผาลาด ตั้งอยู่บริเวณที่ขบวนช้างหยุดพักริมลำธารห้วยผาลาด
๓. วัดอนาคามีวนาราม หรือวัดม่อนพญาหงส์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณหอดูดาวสิรินธร คาดว่าในบริเวณนั้นคงจะมีหงส์หรือนกยูงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในขณะนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อวัด ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่คงเหลือเพียงซากเจดีย์และซากวิหารเล็กๆ เท่านั้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าสถานที่ตั้งของทั้งสี่วัดที่สร้างขึ้น มีจุดเด่นคือสามารถมองเห็นเมืองเชียงใหม่ได้ค่อนข้างชัดเจน อุปมาเหมือน การมองลงมายังโลกมนุษย์ของพระอริยะเจ้าผู้บรรลุธรรรมชั้นต่างๆ แล้ว

สำหรับผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นก็จะได้เฝ้าเพียรปฏิบัติเพื่อที่จะได้บรรลุมรรผลสูงสุดที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์..
พื้นที่วัด ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ในบริเวณวัดมีลำห้วยผาลาดไหลผ่าน เสียงน้ำตกช่วยทำให้บรรยากาศภายในวัดชุ่มชื่น ชุ่มเย็น
เพราะความความเงียบสงบ สถานที่แห่งนี้เมื่อก่อนได้ถูกใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์ในเชียงใหม่ หลายๆ ท่านตามตำนานที่เล่าขานกันมา ไม่ว่าจะเป็นท่านมหาเถรจันทร์ ครูบาหลวงวัดฝายหิน ครูบาน้อย ครูบาคำ ครูบาแก้ว (วัดดอกเอื้อง) เป็นต้น

พระพุทธรูปหน้าผา แต่เดิมว่ากันว่าเป็นวิหารหน้าผาที่สวยงาม และมีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิประดิษฐานอยู่ แต่คงถูกทำลายลงในช่วงสงครามกับพม่า
ภายหลังชาวไทยใหญ่มาอาศัยอยู่ที่วัด จึงสร้างพระพุทธรูปถวาย พระพุทธรูปที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นศิลปกรรมของไทยใหญ่
พระพุทธรูปหน้าผา   เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก คุณบุญเสริมถ่ายภาพไว้ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผา  ศิลป์พม่าร่วมสมัย  

มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่ตรงหน้าผาเป็นพระศิลป์แบบเชียงแสน  และมีพระพระพุทธรูปศักดิ์องค์หนึ่งเรียกว่าพระไล่กา (เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะว่า คนโบราณลงอาคมไว้เพื่อไม่ให้กา  ที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์แจ้งเหตุร้าย และนิสัยไม่ดี  ไม่สามารถบินผ่านวัดขึ้นไปได้  เพราะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว  จึงได้ชื่อว่าพระไล่กา  
แม้แต่ผู้คนที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ  หากนำอาหารติดตัวมา    หากเป็นเนื้อไม่ว่าสุกหรือดิบจะไม่สามารถเอาผ่านวัดนี้ไปได้  มักจะมีอาการปวดหัว  ปวดท้อง )    ภายหลังมีชาวไทยใหญ่หลบภัยสงครามมาอยู่ที่ถ้ำผาลาดนี้  จึงพากันสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะ และป้องกันภัย




บ่อน้ำ  บ้างบอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์  จากการสังเกตุทำให้ทราบว่ามีการสร้างทับขึ้นหลายครั้ง
จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งสร้างขึ้นโดยชาวเมืองสุโขทัยที่ติดตามงานบุญอัญเชิญพระธาตุ ร่วมกับพระเจ้ากือนา  เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ  เป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ  จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำห้วยโดยตรง  

ครั้งที่สองน่าจะเป็นสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่(ดูจากอิฐที่ปากบ่อ น้ำ)  และครั้งที่สามในสมัยครูบาศรีวิชัย  การสร้างมณฑปครอบบ่อน้ำนี้เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในถิ่นชาวไทย ใหญ่  และทางภาคเหนือของ

น้ำตกสวย ท่ามกลางธรรมชาติอันเงียบ สงบ... เงียบจริงๆ เพราะ ไม่มีน้ำครับ


ลึกเข้าไปในป่า ด้านหลัง
มองมาทางด้านขวา ใกล้ๆกันกับ หลังหอวิปัสนากรรมฐานหรือวิหารพระพุทธรูปห้าพระองค์ เป็นห้องสุขา(ถาน คือส้วมของภิกษุสามเณร เป็นคำเฉพาะ) น่าจะสำหรับพระสงฆ์ครับ มีหลายห้อง
สุขาของฆราวาส มีอยู่ตรงที่จอดรถ




วิหาร  สร้างขึ้นในในสมัยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ   โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศใต้  เพื่อไม่ให้ซ้อนที่กัน  โดยมีสล่า( ช่าง) เป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง   และ    ครูบาสิทธิ  วัดท่าสะต๋อย  (ดูจากหลักฐานชื่อที่ติดอยู่ที่เสาวิหาร)
ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูงสัญลักษณ์ของพม่า  ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย  อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม   ปัจจุบันป้านลม  ช่อฟ้าหักลงมาเกือบหมด   หลังคาก็ผุพังชำรุดหลายแห่ง  เมื่อฝนตกจะเกิดการรั่วซึมเกือบทั่วทั้งหลัง
บริเวณบันไดเดินขึ้นพระวิหาร จะมีประติมากรรมรูปปั้นพระอินทร์(ขวา)และพระธรรมิกราช(ซ้าย


พระวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยพระยากือนาได้พังสลายลงไปแล้ว ตำแหน่งของวิหารเดิมเชื่อว่าเป็นบริเวณสวนหย่อมระหว่างพระวิหารและหอวิปัสนาในปัจจุบัน

คงเหลือแต่เพียงปั้นลมของพระวิหารเก่า ซึ่งปัจจุบันได้มีการเก็บรักษาไว้ในพระวิหารหลังปัจจุบัน พระวิหารหลังที่เห็นอยู่นี้สร้างขึ้นใหม่ในสมัยครูบาศรีวิชัย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อน พ ศ ๒๔๖๔

โดยดูจากหลักฐานภาพถ่ายขณะที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสร็จเชียงใหม่ ในปี ๒๔๖๔ได้มีการจัดตั้งพลับพลาที่ประทับแห่งหนึ่งในบริเวณวัดผาลาด รูปนั้นแสดงให้เห็นวิหาร ๒ หลังตั้งอยู่ติดกัน วิหารสมัยนั้นยังมุงหลังคาด้วยใบตองตึง และได้มีการบูรณะเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องดินขอในภายหลัง


ด้านหน้าของพระวิหาร หากเราเดินผ่านบันได ใน รูปความคิดเห็นที่ 21 จนมาถึงบันไดขั้นสุดท้าย ด้านหน้าของพระวิหาร จะมีสองมหาอุบาสกมหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขา นั่งเฝ้าพระพุทธองค์อยู่
ทางขวามือคือพญาอินทราราช ในทางพระพุทธศาสนาพระอินทร์คือเทวดาผู้คอยปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา มีตรีและนิ้วชี้ศักดิ์สิทธิ์เป็นอาวุธ เป็นนัยว่าบุคคลจะขึ้นเฝ้าพระพุทธองค์พึงกระทำจิตใจให้ดีงาม พระอินทร์เป็นผู้คอยรับใช้พระพุทธองค์ทั้งในสามโลก เป็นเทวดาบนสวรรค์ เป็นราชสีห์บนพื้นโลก และเป็นนาคาในมหาสมุทร ดังนั้นช่างจึงจินตนการพญาอินทราราช ให้มีส่วนบนเป็นเทวดา ส่วนลำตัวเป็นราชสีห์ และส่วนหางเป็นนาคาพาดขึ้นราวบันได
พญาธรรมิกราช คือพระโพธิสัตว์ที่กำลังบำเพ็ญบุญบารมีเพื่อที่จะได้มาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และพญาธรรมิกราชองค์นี้ก็คือพระนารายณ์ที่ปราบทุกข์เข็ญของมนุษย์ และก็ยังปรารถนาที่จะได้มาเป็นพระพุทธเจ้า พระกรทั้งสี่สื่อความหมายดังนี้คือ กรซ้ายบนที่ถือสังข์ มีไว้เพื่ออำนวยอวยพรผู้คนที่ผ่านมา กรซ้ายล่างที่ถือตรีโดยเก็บส่วนแหลมคมไว้ด้านหลัง แสดงให้เห็นถึงการหยุดเข่นฆ่า การดำเนินอยู่ด้วยเมตตา กรขวาบนถือพระไตรปิฏกที่กำลังศึกษาเล่าเรียน และกรขวาล่างถือผอบรูปธรรมจักร ตามคำทำนายผู้ที่จะมาเป็นพระโพธิสสัตว์จะมีรูปธรรมจักรอยู่ที่ฝ่ามือ ประติมากรรมรูปปั้นนี้แสดงถึงนารายณ์อวตารสามปางคือ พุทธาวตาร, นรสิงหาวตาร และ มัตสยาวตาร (ส่วนหางเป็นรูปปลา)
 
 
หากใครได้เข้าไปกราบพระในพระวิหารจะสังเกตเห็นว่ามีก้อนหิน(ข้างๆกระถางธูป)ซึ่งมีรอยพระบาทตั้งอยู่ที่หน้าองค์พระประธาน

ตามพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกเขียนเอาไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดฤาษีชาวลั๊ว และประชาชนที่ในแถบนี้ และเมื่อถึงคราวจะเสด็จกลับทรงประทับรอยพระบาทลงบนหินก้อนหนึ่ง แล้วทรงตรัสว่า เมื่อถึงเวลาอันควรรอยพระบาทจะปรากฏขึ้นให้เป็นที่กราบไหว้ บูชาของเหล่ามนุษย์และเทวดา ฤาษีได้เก็บรอยพระบาทไว้ในถ้ำ

ครั้นเมื่อประมาณปี ๒๕๔๙ ขณะที่พระเณรวัดผาลาดกำลังช่วยกันงมก้อนหินจากน้ำตกหน้าพระพุทธรูปหน้าผา เพื่อใช้ทำกำแพงวัด ก็ได้เจอก้อนหินซึ่งมีรอยเท้าประทับอยู่จึงเก็บก้อนหินก้อนนี้ไว้และไม่ได้ใช้ในการก่อสร้าง โดยที่พระเณรในวัดไม่มีใครรู้เรื่องตำนานนี้มาก่อน

กระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้นมีสามี ภรรยาคู่หนึ่งตั้งใจไปไหว้อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ขณะที่อยู่ที่อนุสาวรีย์นั้น ปรากฏมีชายแก่คนหนึ่งเข้าไปบอกให้สองสามีภรยาว่าควรไปกราบพระบาททีวัดผาลาดเพื่อเป็นศิริมงคล ทั้งคู่จึงไปถามพระในวัดถึงเรื่องพระบาท จากนั้นก็มีคนมาถามหารอยพระบาทเรื่อยๆ ครูบาอาจารย์ผู้รู้จึงเล่าเรื่องในตำนานให้พระเณรที่วัดฟัง รอยพระบาทจึงถูกนำมาประดิษฐานที่วิหารแห่งนี้
 
ถัดจากพระวิหารไปทางซ้ายมือคือหอวิปัสนากรรมฐานหรือวิหารพระพุทธรูปห้าพระองค์
 
ด้านหน้าหอวิปัสนากรรมฐานหรือวิหารพระพุทธรูปห้าพระองค์

ประติมากรรมฝาผนังด้านนอกของหอวิปัสนาเป็นรูปปั้นของ สุเทวฤาษี พระญากือนา และพระสุมณะเถระ

สุเทวฤาษี เป็นฤาษีผู้ทรงศีลอยู่ที่ดอยแห่งนี้มาก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ และเป็นที่มาของชื่อดอยสุเทพ นักวิชาการเชื่อว่าสุเทวฤาษีคือตำแหน่งที่ใช้เรียกผู้ทรงศีลและเชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งเมืองเจ็ดริน สวนดอกและหนองหล่ม (หริภุญชัย)
 
พระประธานภายในหอวิปัสนากรรมฐานหรือวิหารพระพุทธรูปห้าพระองค์


พระพุทธเจ้าโคตมะคือพระประธานในวิหาร

และพระพุทธเจ้ากกุสันธะอยู่เป็นรูปแรกทางซ้ายมือของพระประธาน(ซ้ายมือสุด ในภาพ)ถือตามลำดับความอาวุโส

พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ คือสององค์กลาง

พระศรีอริยเมตตรัยประดิษฐานอยู่ใกล้ประตูทางเข้า ท่านเจ้าอาวาสได้ความคิดในการสร้างวิหารนี้มาจากพุทธศิลปกรรมในพม่า ซึ่งท่านหวังเอาไว้ว่าผู้ที่มาปฏิบัติธรรมที่นี่จะมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมเนื่องด้วยการอยู่ท่ามกลางพระพุทธเจ้าทั้งหลา

 
เจดีย์ หรือธาตุเจดีย์ เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระ พระบรมสารีริกธาตุธาตุที่ อัญเชิญมาจากสุโขทัยโดยพระญาลิไท ตั้งอยู่ด้านหลังของพระวิหาร เชื่อกันว่าเจดีย์ที่สร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้ากือนาคงจะเป็นทรงล้านนา แต่ขนาดเล็กกว่าและได้รับการบูรณะโดยช่างชาวพม่าในช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างพระวิหาร ศิลปกรรมแบบพม่าจึงเห็นได้ชัดเจน
 
 
 
โบสถ์ หรือวิหาร ชัดๆ มองจากด้านหน้า

(ถ้าเป็นวิหาร แล้วโบสถ์ล่ะ อยู่ไหน? ถ้าเป็นโบสถ์ ทำไมไม่มีเสมา? หรือผมหาไม่เจอ)
 
 
ถ้าท่านต้องการที่จะไปเที่ยวสถานที่แห่งนี้
ลงรถที่สถานนีขนส่งอาเขต ที่เชียงใหม่ แห่งใหม่(อาเขต3)
หรือสถานีขนส่งอาเขต เก่า (อาเขต2)
ท่านจะเห็นรถสองแถวแดงที่คอยบริการท่าน
จอด เรามีรถไว้บริการท่านจำนวนมาก หลากหลายสไตล์
ที่ท่านชอบ หรือว่าท่านจะสดวก ติดต่อมาก่อนก็ได้
ที่หมายเลข 081-5688750 ยินดีให้บริการแนะนำ
ท่องเที่ยวเชียงใหม่
 

 
 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น